top of page

ใบชะพลู

ชะพลู

ชะพลู หรือ ช้าพลู  (ชื่อวิทยาศาสตร์: Piper sarmentosum Roxb.) เป็นพืชในวงศ์ Piperaceae มักสับสนกับพลู แต่ใบรสไม่จัดเท่าพลูและมีขนาดเล็กกว่า ชะพลูเป็นพันธุ์ไม้ที่ชอบพื้นที่ลุ่ม มีความชื้น ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำ โดยการเลือกกิ่งที่มีใบอ่อนและใบแก่ เด็ดใบแก่ออกและนำไปปักชำได้

ชะพลูมีชื่อพื้นเมืองอื่นๆอีกคือทางภาคเหนือเรียกว่า "ผักปูนา" "ผักพลูนก" "พลูลิง" "ปูลิง" "ปูลิงนก" ทางภาคกลาง เรียกว่า "ช้าพลู" ทางภาคอีสานเรียกว่า "ผักแค" "ผักปูลิง" "ผักนางเลิด" "ผักอีเลิด" และ ทางภาคใต้เรียกว่า "นมวา"

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ใบมีลักษณะคล้ายรูปหัวใจรูปทรงคล้ายกับใบพลู แต่มีขนาดใบเล็กกว่า มีสีเขียวเข้มเป็นใบเดี่ยว รสชาติเผ็ดอ่อน ๆ ดอกออกบริเวณปลายยอด มีสีขาวอัดแน่นกันเป็นทรงกระบอกขนาดเล็ก ลักษณะคล้ายดีปลีแต่สั้นกว่าชะพลูพบในเขตร้อนของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย และตอนใต้ของจีน และไกลถึงหมู่เกาะอันดามัน

การใช้ประโยชน์

ในใบชะพลูมีสารบีตา-แคโรทีนสูงมาก ใบนำมารับประทานกับเมี่ยงคำ นำมาแกงใส่กะทิ ข้าวยำ ห่อหมก หรือเป็นผักจิ้มน้ำพริก ทางภาคใต้ใส่ในแกงกะทิหอยขม แกงคั่วปู ในจังหวัดจันทบุรีใส่ในแกงป่าปลา ในใบมีออกซาเลทสูง จึงไม่ควรรับประทานมากเป็นประจำ

ชะพลูเป็นพืชที่มีสรรพคุณทางยา ดอกทำให้เสมหะแห้ง ช่วยขับลมในลำไส้ รากขับเสมหะให้ออกมาทางระบบขับถ่าย ขับลมในลำไส้ ทำให้เสมหะแห้ง ต้นขับเสมหะในทรวงอก ใบมีรสเผ็ดร้อน ทำให้เจริญอาหาร ขับเสมหะ ใบ ต้น และดอกใช้ขับเสมหะ รากใช้ขับลม น้ำต้มทั้งต้นช่วยลดน้ำตาลในเลือดของกระต่ายที่เป็นเบาหวานได้

การสรุปผลการจัดสร้างโครงงาน

โครงงาน น้ำยากำจัดสนิมจากบชะพลู มีความสามารถในการกำจัดสนิมที่ขึ้นบนโลหะได้ สามารถทำตามวัตถุประสงค์ที่คาดหวังไว้ได้ในการทำน้ำยาที่ไว้ใช้กำจัดสนิมจากธรรมชาติ.

 

ปัญหาที่พบ

ผลการทดลองเป็นไปตามสมมติฐาน และวัตถุประสงค์ของโครงงาน แต่ก็พบปัญหาบางประการ คือ ความสามารถในการกำจัดสนิมของน้ำยาจากธรรมชาติจะไม่เท่ากับน้ำยากัดสนิมทั่วๆไปที่ขายตามท้องตลาด ทั้งนี้อาจเป็นเพราะทางคณะผู้จัดทำใช้วัสดุ และจัดทำส่วนผสมจากธรรมชาติ ทำให้มีประสิทธิภาพไม่เท่ากับน้ำยาปกติที่เป็นสารเคมี และต้องใช้เวลามากกว่า

 

ข้อเสนอแนะ

ควรมีการทดสอบสารต่างๆที่อยู่ในน้ำยากำจัดสนิม

bottom of page